การสื่อสารกับการเรียนการสอน
...........การสื่อสารหรือการสื่อความหมาย
เป็นการส่งทีมีบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร เรื่องราว
ความรู้ แนวความคิดเหตุการณ์
โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน
หรือสถาบันเพื่อให้ผู้รับทราบข่าวพร้อมกัน
..........พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน
มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child
Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า
เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น
ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล
ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้
มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร
การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน
ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.
กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย
หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2.
การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน
ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.
ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา
สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน
มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4.
การทดสอบหลังการเรียน (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
องค์ประกอบของการสื่อสาร
ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3.
สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5.
ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า
อุปกรณ์สื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- โมเด็ม
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นดิจิทัล
อุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง
- เคเบิลโมเด็ม
เป็นโมเด็มใช้รับส่งข้อมูล เป็นเครือข่ายโทรทัศน์ โดยมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล
ตั้งแต่ 500กิโลบิทต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าการใช้โมเด็มธรรมดา ISDN
- อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ใช้รวมส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นสายข้อมูลเดียวกันและส่งผ่าน ไปได้
บนสายส่งเส้นเดียว
- แผ่นวงจรต่อประสานเครือข่าย
เป็นแผ่นวงจร ต่อขยายที่เสียบในช่องเสียบของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น
แผ่นวงจรนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Lan
Adapter เนื่องจากใช้ในการรับข้อมูลคำสั่งและสารสนเทศต่างๆ
ความเอื้อประโยชน์ของเครือข่าย
- การใช้โปรแกรมและข้อมูลรวมกัน
ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้ซอฟแวร์ โปรแกรมและได้รับข้อมูล
เดียวกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว
- การใช้บริภัณฑ์ร่วมกัน
สถาบันและองค์กรในเครือข่าย จนสามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปริมาณรอบข้างต่างๆ
- สะดวกในการสื่อสาร
ด้วยการใช้อีเมลช่วยในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ไม่เสียเวลาและค่าน้ำมันในการเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าไปรษณียากร
และช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรโลก
- การเข้าถึงฐานข้อมูล
สถาบันและหน่วยงานต่างๆจะมีฐานข้อมูลของแต่ละแหล่งเก็บบันทึกไว้เพื่อสามารถเรียกค้น
และใช้งานด้วยความรวดเร็ว
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. ความเร็ว
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว
ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2. ความถูกต้อง
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ
ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
3. การเก็บบันทึกข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
4. การเผยแพร่ข้อมูล
การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
คุณค่า
และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง
ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน
เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย
ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
3) สาร (Messages)
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication
Process)
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ
ดังนี้
1) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ
(Technology as a P recess) หมายถึง
การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ
ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology
as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ
และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล
(Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง
เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ
และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน
เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
ความสำคัญ
การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง
เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหาคือ ความรู้ มีผู้รับคือ
นักเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า
"สื่อ" หรือ "สื่อการสอน" ภายใต้สถานการณ์ในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสูตรเป็นเครื่องนำ
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม
ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ
ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร
ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ
เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
ระบบการสื่อสาร (Communication System)
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร
มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร
การใช้ระบบการกระจายเสียง วิทยุ ทีวีบนเครือข่าย
ปัจจุบันสามารถตั้งสถานีวิทยุ และทีวีบนเครือข่ายได้ง่าย เรามีระบบ Real Audio ที่สามารถส่งกระจายสัญญาณเสียงแบบวิทยุ
ทำให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายรับฟังได้พร้อมกัน ระบบ Real Video ทำให้ส่งกระจายสัญญาณโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยสามารถตั้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุของตนเองด้วยต้นทุนที่ต่ำ
มีการจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือการถ่ายทอดสดในเหตุการณ์สำคัญบนเครือข่าย
และสามารถแพร่กระจายออกไปทั่วโลกบนอินเทอร์เน็ตได้
การดำเนินการในเรื่องการกระจายสัญญาณมีระบบหลักที่เป็นเทคโนโลยีที่สร้างคุณค่าพิเศษหลายอย่าง
เช่น เทคโนโลยี Multicast เทคโนโลยี Point Cast มีการพัฒนาระบบหลักที่เรียกว่า MBONE เพื่อกระจายสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยสามารถใช้ระบบการกระจายสัญญาณเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนิสิตทางสาขานิเทศศาสตร์ได้
การสื่อสารโทรคมนาคมจึงมีบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันทำให้มีการเรียนในรูปแบบต่างๆ
โดยการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทั้งวัสดุและอุปกรณ์ดังกล่าวมาแล้ว
ดังเช่นการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา และการเรียนเชิงเสมือน
จึงทำให้การศึกษาในปัจจุบันหลีกหนีไม่พ้นการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อเอื้อการเรียนรู้
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1.
ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ
เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ
ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร
จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2.
ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่
การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์
ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร
ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3.
ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน
อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น
เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส
(encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย
จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้
การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง
ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน
การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5.
การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร
โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6.
สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ
อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ
แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด
ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ
เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร
ในทางปฎิบัติมักจะใช้
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง
เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น
การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล
หมายถึง
การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล
ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data
Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending
Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion
Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving
Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด
รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น
เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย
สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด
หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน
และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม
สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น
คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ
ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง
และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี
ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย
ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม
ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ
บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก
(Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น
ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง
ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน
เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป
จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี
คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา
คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ
หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์
คนส่วนใหญ่จะคิดว่า
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่
เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์
ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว
ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย
และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ
เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้
มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน
บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ
การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
- ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ
โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
- ใช้เพื่อการเรียนการสอน
แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
- ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
- รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน
การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา
และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
- โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
- การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ
นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ
การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
- ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล
กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
- ใช้มากในการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
- อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน
- เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น
ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
- โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
หรือผู้นำเสนอ
การเชื่อมโยงข้อมูลและการยืมกันระหว่างศูนย์สื่อการสอนจะต้องใช้เครือข่ายเช่น
โทรศัพท์ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยคอมพิวเตอร์
ซึ่งปัญหาสำคัญของการเชื่อมโยงก็ได้แก่
1. เนื้อหาข้อมูลที่จะเชื่อมโยง
2. ระบบโทรคมนาคม
3. คุณภาพของการบริการ
4. ทักษะของทีมงาน
5. สภาวะเศรษฐกิจ
การปรับปรุงศูนย์สื่อเพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน หรือ ระหว่างโรงเรียนด้วย เป็นสิ่งที่เริ่มมีให้เห็นในทางปฏิบัติในระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ในระดับโรงเรียนในประเทศไทยได้มีความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ SchoolNet โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ (ถนอมพร เลาจรัสแสง, 2541) ซึ่งการเชื่อมโยงโครงข่ายคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่จะเป็นศูนย์สื่อการสอนในอนาคต ต่อไปก็จะมีการพัฒนาการสอนขึ้นบนอินเทอร์เน็ตและทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้ภายในระบบนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบคอมพิวเตอร์ในศูนย์สื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะช่วยให้นักเทคโนโลยีทางการศึกษาทำงานได้ง่ายขึ้นถ้าได้ ปรับปรุงเชื่อมโยงการใช้ให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Baumbach, 1991)
การพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนให้มีการเชื่อมโยงได้ จะต้องอาศัยทีมงานที่มีความรู้ในเรื่อง-ของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายด้วย (Jacob, 1989 : 3-11) ดังนั้นบทบาทของนักเทคโนโลยีจึงไปใช่เพียงกำหนดสื่อที่จะใช้แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้จัดการฐานข้อมูล หรือผู้ควบคุมการทำงาน แต่จะต้องมีคุณสมบัติในด้านของความรู้ความเข้าใจระบบการสื่อสาร ต้องเป็นผู้ติดต่อประสานงานติดตั้ง คอยเป็นที่ปรึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบ รวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำเครือข่าย
1. เนื้อหาข้อมูลที่จะเชื่อมโยง
2. ระบบโทรคมนาคม
3. คุณภาพของการบริการ
4. ทักษะของทีมงาน
5. สภาวะเศรษฐกิจ
การปรับปรุงศูนย์สื่อเพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน หรือ ระหว่างโรงเรียนด้วย เป็นสิ่งที่เริ่มมีให้เห็นในทางปฏิบัติในระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ในระดับโรงเรียนในประเทศไทยได้มีความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ SchoolNet โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ (ถนอมพร เลาจรัสแสง, 2541) ซึ่งการเชื่อมโยงโครงข่ายคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่จะเป็นศูนย์สื่อการสอนในอนาคต ต่อไปก็จะมีการพัฒนาการสอนขึ้นบนอินเทอร์เน็ตและทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้ภายในระบบนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบคอมพิวเตอร์ในศูนย์สื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะช่วยให้นักเทคโนโลยีทางการศึกษาทำงานได้ง่ายขึ้นถ้าได้ ปรับปรุงเชื่อมโยงการใช้ให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Baumbach, 1991)
การพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนให้มีการเชื่อมโยงได้ จะต้องอาศัยทีมงานที่มีความรู้ในเรื่อง-ของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายด้วย (Jacob, 1989 : 3-11) ดังนั้นบทบาทของนักเทคโนโลยีจึงไปใช่เพียงกำหนดสื่อที่จะใช้แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้จัดการฐานข้อมูล หรือผู้ควบคุมการทำงาน แต่จะต้องมีคุณสมบัติในด้านของความรู้ความเข้าใจระบบการสื่อสาร ต้องเป็นผู้ติดต่อประสานงานติดตั้ง คอยเป็นที่ปรึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบ รวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำเครือข่าย
คำว่า Computer Literacy เกิดขึ้นมาพร้อมกับการนาเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการต่างๆโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมการศึกษาของเราตื่นตัวต่อการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และบทบาทของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก
คอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการการศึกษาในทุกๆระดับและนับวันจะมีบทบาทต่อการเรียนการสอนมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และคาถามสาคัญที่ต้องการคาตอบก็คือในฐานะครูควรต้องมีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์อย่างน้อยในระดับใดเพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น Computer Literacy จึงน่าจะเป็นคาตอบในประเด็นสาคัญดังกล่าวนี้ได้
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า Computer Literacy หมายถึงสมรรถนะหรือความสามารในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ
สาหรับสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ของครูผู้สอนต่อการจัดการเรียนรู้นั้น MECC ( Minnesota Educational Computing
Consortium ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการกาหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
ได้ทาการศึกษาถึงความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานที่ครูทั่วไปควรที่ต้องมีว่าต้องครอบคลุม 3 ประเด็นหลักคือ
1. เข้าใจระบบการทางานของคอมพิวเตอร์
2. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้
3. นาความรู้และทักษะมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้
ทั้งนี้จากองค์ความรู้ใน 3 ประเด็นหลักนั้นสามารถแยกออกเป็นความรู้และทักษะย่อย ดังนี้
1. สามารถที่จะอ่านและเขียนโปรแกรมพื้นฐานได้
2. มีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมการใช้งาน ( Application Software ) เพื่อการศึกษา
3. สามารถที่จะเข้าใจคาศัพท์เฉพาะด้านคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะคาศัพท์ที่เกี่ยวกับ Hardware
4. สามารถรู้ปัญหาและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอันเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นด้าน Software และ Hardware
5. สามารถจะอธิบายถึงผลกระทบของคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นต่อสังคมทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
6. มีความคุ้นเคยกับการใช้งาน Software ประเภทต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง
7. สามารถที่จะประมวลความรู้ต่างๆด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
8. มีความรู้ด้าน CMI ( Computer-Managed Instruction ) ด้าน CAI ( Computer-Assisted Instruction ) และการใช้บทเรียนในรูปแบบต่างๆเพื่อการเรียนการสอน
9. สามารถกาหนดคุณลักษณะเฉพาะ ( Specification ) เพื่อการจัดหาชุดไมโครคอมพิวเตอร์ได้
10. มีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงระบบคอมพิวเตอร์เช่นเครื่อง Printer , Scanner เป็นต้น
11. มีความสามารถที่จะประเมิน Software ทางการศึกษาได้
12. รู้แหล่งที่จะติดต่อเพื่อการขอความร่วมมือหรือเพื่อการจัดหา Software ทางการศึกษา